“การศึกษาคือการยกระดับมนุษย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอารยธรรมนี้ ซึ่งมีพลังที่จะช่วยให้ผู้ที่อ่อนแอที่สุดกลับมามีพลัง นำสันติสุขมาสู่โลก และบรรเทาความยากจน มันคือแสงสว่างเดียวในการแสวงหาความสุข"
- กูรูเดฟ ศรีศรี ราวี ชางการ์
สรุปสั้น ๆ
ด้วยแรงบันดาลใจและวิสัยทัศน์ของ กูรูเดฟ ศรีศรี ราวี ชางการ์ ที่ให้ความสําคัญกับการศึกษาที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน องค์กร อาร์ท ออฟ ลิฟวิ่ง จึงเน้นให้การศึกษาแบบองค์รวม และมุ่งเน้นถึงคุณค่าของการนํามนุษย์สู่อิสรภาพทางปัญญาให้แก่เด็ก ๆ ที่อยู่นอกเหนือการช่วยเหลือของรัฐบาล หรือองค์กรเอกชนอื่น ๆ โดยได้ทำการช่วยเหลือผ่านโครงการ 'The Care for Child' รู้จักกันในนาม 'Gift A Smile' หรือ รอยยิ้มคือของขวัญ
ประสิทธิผลของการจัดการศึกษานั้นวัดจาก:
• ผลการเรียน
• ความสำเร็จโดยรวมและความพึงพอใจของเด็ก
• การพัฒนาเด็กในทุก ๆ ด้านของชีวิต: สังคมจิตวิทยา และด้านวัตถุ
ความมุ่งมั่นและการดําเนินงานของเรา
โรงเรียน อาร์ท ออฟ ลิฟวิ่ง หลายแห่งดำเนินการในพื้นที่ห่างไกลที่เข้าถึงได้อย่างยากลําบาก ซึ่งความเดือดร้อนในด้านการเงินภายในครอบครัวทำให้เด็ก ๆ ต้องออกจากโรงเรียน เพื่อมาช่วยครอบครัวทํางาน ในบางกรณีความปลอดภัยเป็นปัญหาใหญ่ในพื้นที่ ที่ซึ่งมีการก่อความไม่สงบ
เราได้มุ่งเน้นไปที่การศึกษาด้านคุณค่าที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางด้านของจิตใจโดยผ่านการเล่นโยคะ การทำสมาธิ และเทคนิคที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงจากภายในอย่างแท้จริง วิธีนี้จะช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตทางสติปัญญา, ร่างกาย, อารมณ์, สังคมและจิตวิญญาณ ที่จะนำไปสู่การศึกษาที่เป็นแบบองค์รวม
โรงเรียนภายใต้โครงการ รอยยิ้มคือของขวัญ ( Gift a Smile )ได้แบ่งออกเป็นสามประเภท: โรงเรียนในชนบท ชนเผ่าพื้นเมือง และชุมชนแออัด
โรงเรียนในชนบท
โรงเรียนในชนบทนั้นดำเนินการในหมู่บ้านที่อยู่ใกล้กับเมืองทั่วไปที่มีถนนและไฟฟ้าที่สามารถเข้าถึง เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเข้าเรียน ทางโรงเรียนได้มีบริการรถรับส่งฟรี ร่วมถึง อาหาร ชุดนักเรียน หนังสือ และกระเป๋านักเรียน และผู้ปกครองเองก็จะได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับความสำคัญของการศึกษา ซึ่งอัตราการเข้าร่วมเรียนของนักเรียนสูงถึง 98% และอัตราการลาออกกลางคันเป็นศูนย์
โรงเรียนชนเผ่าพื้นเมือง
คำว่า 'ชนเผ่า' หมายถึงกลุ่มเล็ก ๆ ในอินเดียที่มีต้นกำเนิดชาติพันธุ์วัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่แตกต่างจากสังคมอินเดียในปัจจุบัน โดยทั่วไปจะอยู่ในพื้นที่ห่างไกลล้อมรอบด้วยป่า การคมนาคมไม่สะดวก ไม่มีถนนและไฟฟ้า วัฒนธรรมของกลุ่มชนเผ่าส่วนใหญ่เป็นวัฒนธรรมโบราณที่เก็บรักษาไว้เป็นเวลาหลายพันปี ซึ่งตอนนี้ใกล้จะสูญพันธุ์ เนื่องจากการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ และวัฒนธรรมในยุคปัจจุบัน
โรงเรียนแห่งแรกก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1999 ในพื้นที่ชนเผ่าของ เมือง จาร์ก เบงกอลตะวันตก และ Tripura ซึ่งตอนนี้มีโรงเรียนชนเผ่า 20 แห่งดูแลเด็กกว่า 2,800 คน
โรงเรียนเหล่านี้มีการเข้าร่วม 97% โดยมีอัตราการออกกลางคันน้อยกว่า 15% และ 48% ของนักเรียนเป็นเด็กผู้หญิง - ซึ่งนี่ไม่ใช่เรื่องปกติในพื้นที่เหล่านี้ ส่วนครูได้รับคัดเลือกจากพื้นที่ท้องถิ่นและผ่านการฝึกอบรมในสถาบันฝึกอบรมครู
โรงเรียนสลัม
ชุมชนแออัดเผชิญกับความท้าทายที่ไม่เหมือนใครรวมถึงความยากจนปัญหาสุขอนามัยและความแออัดยัดเยียด เด็กจากสลัมมักจะขาดสารอาหารและติดอยู่ในห่วงของอาชญากรรมและความรุนแรง แต่ในใจกลางเมืองนั้นมีความแตกต่างระหว่างชาวเมืองและชาวสลัมคือสิ่งที่กระทบกับจิตใจของเด็กเช่น การขาดความพร้อมด้านการศึกษาฟรีทำให้พวกเขามีความเสี่ยงต่อการเสพติดแอลกอฮอล์ ยาเสพติดและความเสี่ยงต่ออาชญากรรมในการหารายได้
ผลกระทบ:
นักเรียนกว่า 70,000 คนได้รับการศึกษาฟรีในโรงเรียน 702 แห่งใน 22 รัฐของอินเดีย
ในแถบชนบทชนเผ่าและชุมชนแออัดที่มีการใช้แรงงานเด็กและความยากจนในวงกว้าง
เด็กรุ่นแรกของโรงเรียน
ในหมู่นักเรียนหลายคน
ได้ลดการใช้แรงงานเด็กและการแต่งงานเด็กก่อนวัย
ในหมู่บ้านที่โรงเรียนศิลปะการใช้ชีวิต
โครงการเด่น
- โรงเรียนแห่งแรกของ อาร์ท ออฟ ลิฟวิ่ง
- โรงเรียนเผ่าจาร์ก
- (ความหวังใหม่) A New hope @ (กำแพงแห่งความตาย) The Wall of Death
- โรงเรียนธาราวี
- เด็กที่เคยตกเป็นเหยื่อของการใช้แรงงานได้กลายเป็นผู้ให้การศึกษา
โรงเรียนแห่งแรกของ อาร์ท ออฟ ลิฟวิ่ง , เมือง เบงกาลูรู ในชนบท, อินเดีย
Ved Vignan Maha Vidhya Peeth (VVMVP) เป็นโรงเรียนในชนบทแห่งแรกที่เริ่มต้นโดย กูรูเดฟ ศรีศรี ราวี ชางการ์ ในปี 1981 ซึ่ง กูรูได้เริ่มต้นโครงการเมื่อ สังเกตเห็นเด็กท้องถิ่นวิ่งเล่นอยู่ท่ามกลางฝุ่นใกล้กับศูนย์ The อาร์ท ออฟ ลิฟวิ่งโดยไม่สามารถเข้าถึงระบบการศึกษา
ฉะนั้นอาสาสมัครท้องถิ่น จึงได้รับการแต่งตั้งให้ดูแลเด็ก ๆ เพื่อให้พวกเขาได้เรียนรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสุขอนามัย สอนเกมการศึกษา และให้บริการอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับมื้อกลางวันฟรี จากนั้นโรงเรียนเริ่มดึงดูดนักเรียนมากขึ้นและมีการจัดตั้งโครงสร้างการศึกษาอย่างเป็นทางการ แม้ว่าในขั้นต้นผู้หางานรายวันไม่เต็มใจและมีแค่เด็ก ๆ จากสองหมู่บ้านเท่านั้นที่เข้าร่วมโครงการของโรงเรียน แต่วันนี้จำนวนของนักเรียนมีการเติบโตอย่างเห็นได้อย่างชัดเจน
หนึ่งในนักเรียนคือเด็กสาวที่ชื่อ ปรียางก้า เธอเริ่มการศึกษาจากชั้นมัธยม 2 - 4 และสอบได้ที่กนึ่งของชั้นมัธยม 4 ของโรงเรียน ปรียางก้าได้เลือกเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และปัจจุบันได้งานที่ Bengaluru Metro Rail Cooperation Ltd. เธอขับรถไฟใต้ดินบังกาลอร์แห่งหนึ่งในฐานะผู้ดำเนินการของรถไฟ
“โดยปก ติอายุเท่านี้ ลูกสาวของฉันคงทำงานอยู่ในฟาร์ม เราไม่เคยคาดฝันเลยว่าเธอจะได้รับการศึกษา! ฉันมีความสุขมากที่ได้เห็นเธอกำลังไปโรงเรียน!”
- นางสาวิตรีเป็นผู้ปกครองของนักเรียนรุ่นแรกในครอบครัวที่ได้ไปโรงเรียน
โรงเรียนเผ่าจาร์ก: เข้าศึกษาที่ Hinterlands
ในปี ค.ศ. 1999 เมื่อ คุรุเทพ/ คุรุเดว กูรูเดฟ ขอให้ บริจ ชาวลาBrij Chawla ช่วยทำอะไรบางอย่างเพื่อการศึกษาในพื้นที่ชนเผ่า เขาจึงตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปในของบริษัท บารทิย่า คัทเลิร์ แฮมเมอร์ Bhartiya Cutler Hammer เพื่อทำงานให้กับชนเผ่าที่ได้รับผลกระทบจาก กลุ่มแน็กเซิลNaxal ในจาร์ก Jharkhand เขาเลือกเมือง กัทชิลล่าที่อยู่ Ghatsila ลึกเข้าลงไปในTribal belt ซึ่งจะเราต้องกระโดดหลายฟุตเพื่อขึ้นลงรถไฟในที่มืดด้วยเวลาเพียงไม่กี่นาที นาย บริจ ชาวลาChawla ซึ่งอยู่ในช่วงอายุวัย 70 ปีของเขาและมักจะเดินทางพร้อมกล่องขนาดใหญ่ที่บรรจุด้วยชุดเครื่องแบบหรือหนังสือหรืออุปกรณ์การเรียนอื่น ๆ
วันนี้มีโรงเรียนชนเผ่า 20 แห่งที่อยู่บนแผนที่ของ จาร์ก Jharkhand โรงเรียนที่มีโครงสร้างพื้นฐานคุณภาพสูงรวมไปถึงห้องมัลติมีเดียที่ดำเนินการโดยพลังงานแสงอาทิตย์ การเรียนการสอนของที่นี้เริ่มต้นในภาษาท้องถิ่น: มันดารี (Mundari) และ โอราออน (Oraon) และใช้สคริปต์อากีกิ(Akiki)
“ ลูกสาวของฉัน ดุขิ เป็นคนแรกในครอบครัวของเราที่ได้รับการศึกษา คนอื่นไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะอ่านหรือเขียนยังไง เรารู้สึกซาบซึ้งในสิ่งนี้มาก”
- นายจาบา ซอเรน ซึ่งลูกสาวของเขาได้เรียนในโรงเรียนของชนเผ่าที่ดำเนินการโดย เดอะ อาร์ท ออฟ ลิฟวิ่ง
(ความหวังใหม่) A New hope @ (กำแพงแห่งความตาย) The Wall of Death
หลังจากได้เข้าร่วมโครงการอบรมผู้นำเยาวชน ฮิรามาตี ซินฮาได้ตัดสินใจเปิดโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษฟรีที่ “กำแพงแห่งความตาย” บนชายแดนระหว่างประเทศ อินเดีย - บังคลาเทศใน เมือง Bhuvaneshwarnagar รัฐอัสสัมในปี พศ 2546 และเธอยังได้เข้าเยื่ยม 1,500 ครอบครัวและสนับสนุนให้ผู้ปกครองส่งลูกเข้าเรียน แม้จะไม่ได้มีการตอบรับที่อบอุ่น แต่ฮิระมาตีก็ได้ตัดสินใจและเริ่มต้นสอนด้วยการตั้ง ศรีลังกายานมันดิร ที่มีผู้เรียนเพียง 15 คนเท่านั้น แต่ในตอนนี้มีนักเรียนเกือบ 600 คน
นักเรียนหลายคนมาจากครอบครัวชาวประมงในท้องถิ่นที่ไม่เคยได้รับการศึกษา และมีเด็กจำนวนมากที่เป็นลูกของทหารในกองทัพที่ได้ศึกษาที่นี่ด้วยโรงเรียนธาราวี : ศูนย์กลางการศึกษาในสลัมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย
เด็กที่เคยตกเป็นเหยื่อของการใช้แรงงานได้กลายเป็นผู้ให้การศึกษา
พ่อของ Vinod Chauhan เป็นช่างตัดเสื้อที่ติดแอลกอฮอล์และแม่ของเขาทำงานในฟาร์มตามฤดูกาล เนื่องจากนิสัยของพ่อ Vinod และพี่ชายของเขาต้องเริ่มทำงานในร้านน้ำชาตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงคืนตามด้วยงานแปลก ๆ มากมายเช่น - ขายว่าวขายผักทำสวนและอื่น ๆ “ เราไม่ได้รับการสนับสนุนให้เน้นการศึกษาของเรา ฉันล้มเหลวในชั้นเรียนที่ 10 สองครั้งและฉันก็ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะอ่านหรือเขียนภาษาฮินดีอย่างไรในในยุคนั้น”
หลังจากจบ YLTP แล้ว Vinod ก็ได้รับแรงบันดาลใจให้เรียน และเรียนจบชั้น 10 และจบการศึกษาด้านการพาณิชย์ “ การเติบโตในชีวิตส่วนตัวของฉันทำให้ฉันมีความมั่นใจมากขึ้นเรื่อย ๆ และมุ่งมั่นที่จะนำการศึกษามาสู่เด็ก ๆ ในชุมชนที่ยากจน ฉันต้องการช่วยเหลือเด็กคนอื่น ๆ เพื่อที่พวกเขาจะไม่ต้องผ่านสิ่งที่ฉันต้องทำ ความฝันของฉันคือการเห็นเด็กทุกคนได้รับการศึกษาและเห็นพวกเขาเติบโตเป็นบุคคลที่เป็นอิสระ” วันนี้เขาบริหารโรงเรียนฟรีสำหรับนักเรียนกว่า 250 คนจากชุมชนยากจนในเมืองดาร์ดาร์รัฐมัธยประเดช